messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
บางสระเก้า
อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
check_circle ประวัติความเป็นมา
ประวัติตำบลบางสระเก้า
พื้นที่ดั้งเดิม ในอดีตที่ผ่านมา ก่อนที่ชาวบ้านจะเข้ามาลงรากสร้างฐาน พื้นที่นี้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นที่เนินและที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่แถบชายทะเล มีลำคลองไหลผ่านเป็นการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างป่าไม้เบญจพรรณ ได้แก่ ต้นยางนา ต้นยางใต้ ตะเคียน ต้นไผ่ ต้นประดู่ ซึ่งเป็นพืชน้ำจืด และป่าชายเลน ได้แก่ ต้นโกงกาง ต้นจาก ต้นกวาด ต้นแสม ต้นลำพู ต้นลำแพน ต้นกะสัก ต้นโปรง ต้นกะบูน ซึ่งเป็นพืชน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าเบญจพรรณและป่าชายเลน จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหาอาหารของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า เสือลายพาดกลอน เสือปลา เสือแปลง นากทะเล จรเข้น้ำเค็ม ลิงแสม (ปัจจุบันสัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่แล้ว) นอกจากนี้ยังมีสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายชนิด ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงจากการบอกเล่าและพบเห็นของชาวบ้านในรุ่นปู่,ย่า ที่เล่าสืบต่อกันมา และหลักฐานอ้างอิงที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของช้างป่า ก็คือ แอ่งดินที่ช้างป่ามานอนรวมกันและเกลือกกลิ้ง เมื่อมีฝนตกก็จะมีน้ำขังในแอ่งดิน ช้างได้อาศัยน้ำที่ขังอยู่สำหรับกินและนอนเล่นจนมีขนาดกว้างและลึกมากขึ้น มีปรากฏทั่วไปในพื้นที่จำนวน 9 แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า “สระ” ต่อมาชาวบ้านได้ใช้จำนวนสระมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางสระเก้า” และมีชื่อเรียกสระเหล่านี้ตามสถานที่และตามชื่อของชาวบ้านที่มีที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับสระในขณะนั้น ดังนี้ สระที่ 1 เรียกว่า “สระตาเผื่อน” อยู่ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านเนิน(ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 2 เรียกว่า “สระหน้าโบสถ์” อยู่ในพื้นที่วัดบางสระเก้า หมู่ 2 บ้านกลาง(ปัจจุบันมีการอนุรักษ์ไว้ส่วนหนึ่งเป็นบ่อน้ำใช้ของพระภิกษุสามเณรในวัด) สระที่ 3 เรียกว่า “สระตาอ๋อ” อยู่ในพื้นที่หมู่ 2 บ้านกลาง(พื้นที่บริเวณนี้ในเวลาต่อมาได้ถวายเป็นของวัดและถูกถมกลบไปแล้ว) สระที่ 4 เรียกว่า “สระยายจ๋วน” อยู่ในพื้นที่หมู่ 3 บ้านเนินกลาง(ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 5 เรียกว่า “สระยายสุก” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันบูรณะเป็นสระน้ำเพื่อการเกษตร) สระที่ 6 เรียกว่า “สระขรัวมี” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 7 เรียกว่า “สระตาบา” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 8 เรียกว่า “สระตาหอม” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 9 เรียกว่า “สระหนองตาพุ่ม” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) นอกจากสระน้ำแล้วยังมีชื่อของสถานที่อันเกี่ยวข้องกับช้าง ได้แก่ 1. คลองช้าง เป็นคลองเล็กๆ แยกจากคลองสายหลักที่ไหลผ่านและเชื่อมติดต่อกัน เป็นลำคลองที่มี ลักษณะปลายทางเป็นคลองตัน สันนิษฐานว่า เป็นเส้นทางเดินข้ามคลองสายหลัก ที่ช้างใช้เดินข้ามเพื่อหาอาหารกินเป็นประจำ จนกลายเป็นล่องคลองในเวลาต่อมา 2. ท่าช้างอยู่ติดริมคลองหนองบัวเป็นคลองแบ่งเขตพื้นที่ระหว่างบ้านเสม็ดงามและบางสระเก้า สันนิษฐานว่าเป็นทางขึ้นลงของช้างที่ใช้ข้ามไปมาระหว่างบ้านเสม็ดงามและบางสระเก้า

พื้นที่ดั้งเดิม





การอพยพสร้างถิ่นฐาน
มีการสันนิษฐานว่า ผู้ที่เข้ามาสร้างถิ่นฐานเป็นชนกลุ่มแรกน่าจะเป็นชาวชองที่เป็นคนพื้นที่เดิมของจังหวัดจันทบุรี ต่อมามีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชาวญวน และคนไทยจากภาคใต้ โดยอาศัยการเดินทางด้วยเรือ พื้นที่ตำบลบางสระเก้ามีทำเลเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่พักแรมและหลบมรสุม การติดต่อค้าขายก่อให้เกิดความสัมพันธ์ยาวนานเป็นชุมชนใหญ่โตขึ้นจากที่พักชั่วคราวมาเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินหลัก จากกลุ่มชนเชื้อชาติเดียวขยายตัวเป็นกลุ่มชนหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกันมีทั้งชาวชอง ชาวไทยภาคใต้ ชาวจีน ชาวญวน มีร่องรอยหลักฐานที่สันนิษฐานได้ 1. จากสำเนียงภาษาพูดพื้นบ้าน จะมีลักษณะเป็นสำเนียงชองผสมกับภาษาพื้นบ้านภาคใต้ ภาษาพูดคำบางคำเป็นภาษาถิ่นภาคใต้ เช่น ขนำ(ขะ-หนำ) หมายถึง ที่พักอาศัยชั่วคราว ปลัก หมายถึง หลุมดินที่มีน้ำขังขนาดเล็กถึงขนาดย่อม ถ้าขนาดใหญ่จะเรียกว่า “สระ” ตัวอย่างของปลัก เช่น ปลักควาย เกิดจากควายนอนเล่นจนกลายเป็นแอ่งดินที่มีน้ำขัง เป็นต้น เอ๊าะ หมายถึง คำเรียกผู้ให้กำเนิดที่ใช้แทนคำว่าพ่อ แมะ หมายถึง คำเรียกผู้ให้กำเนิดเช่นกันใช้แทนคำว่าแม่ 2. จากประเพณีพื้นบ้าน เช่น การแต่งงาน จะมีพิธีบอกผี หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของฝ่ายเจ้าสาวที่ได้ตายไปแล้ว จะมีการบอกกล่าวว่า ลูกหลานได้มีการออกเหย้า ออกเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธี จะเป็นลูกปัดสีต่างๆ ซึ่งชาวชองนิยมใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ 3. จากต้นตระกูลของชาวบ้านในปัจจุบัน จะมีเชื้อสายสืบทอดมาจากชาวจีนบ้าง ชาวญวนบ้าง

การอพยพสร้างถิ่นฐาน


check_circle วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ (Vission)
“ เศรษฐกิจดี มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต ชุมชนร่วมคิดพัฒนา”

คำขวัญตำบล
"เสื่อกกบางสระเก้า หลวงพ่อเต่าพระดี ตำนานมีเก้าสระ ถิ่นวัฒนธรรม สง่าล้ำวัดพัฒนา การกีฬาขึ้นชื่อ เลื่องลือสามัคคี"

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร

ตราสัญลักษณ์


check_circle ข้อมูลสภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้ง
ที่ตั้งและอาณาเขตท้องที่ ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีเขตการปกครอง รวม 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านเนิน หมู่ที่ 2 บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน หมู่ที่ 5 บ้านแถวนา มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ทิศใต้ ติดต่อตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร จำนวนพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า มีพื้นที่ปกครอง 22.45 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศ ตำบลบางสระเก้า มีสภาพเป็นที่ลุ่มแบบชายทะเล มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย เช่น คลองพลิ้ว คลองบางสระเก้า คลองหนองบัว เชื่อมติดต่อกันตล ประชากร ประชากรรวมทั้งสิ้น 2,080 คน แยกเป็น ชาย 958 คน หญิง 1,122 คน ครัวเรือน 785 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 95 คน ตารางกิโลเมตร แยกตามหมู่บ้าน ( ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ) หมู่ที่ ชาย หญิง รวม ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเนิน 336 387 723 266 หมู่ที่ 2 บ้านกลาง 156 169 325 124 หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง 134 165 299 115 หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน 180 200 380 173 หมุ่ที 5 บ้านแถวนา 152 201 353 107 รวม 958 1,122 2,080 785

ลักษณะสังคม
การศึกษา - โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 แห่ง - ศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า 1 แห่ง - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 แห่ง -ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.บางสระเก้า 1 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 1 แห่ง - สำนักสงฆ์/ที่พักสงฆ์ 2 แห่ง สาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสระเก้า 1 แห่ง - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง

สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ลักษณะการประกอบอาชีพของประชากรในตำบลบางสระเก้า ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร มีการทำนาข้าว มะพร้าว ปลูกกก ปลูกปอ และถั่วลิสง หมุนเวียนกันตลอดปี และมีการทอเสื่อ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด อาชีพรองลงมา คือ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การเลี้ยงหอยนางรม การทำประมงขนาดเล็ก และการทำสวนทุเรียน สวนเงาะ สวนมังคุด ในต่างท้องที่นอกเขตตำบล ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพขึ้นไป หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ 20 แห่ง - สถานีบริการน้ำมันแบบหยดเหรียญ/หลอด 3 แห่ง - ร้านรับซื้อของเก่า 1 แห่ง - อู่ซ่อมรถ 3 แห่ง - บ้านเช่า 2 แห่ง - ร้านเสริมสวย 4 แห่ง - ร้านล้างอัดฉีด 1 แห่ง - คลินิกเอกชน 1 แห่ง - ตลาด 1 แห่ง - สถาบันการเงินชุมชน 1 แห่ง - กองทุนหมู่บ้าน 5 แห่ง

ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม ตำบลบางสระเก้าเป็นตำบลที่มีอาณาเขตติดต่อกับลำคลองทั้งสองด้าน ดังนั้น เส้นทางการคมนาคมจึงมีทั้งทางบกและทางน้ำ ทางบก มีถนนลาดยาง ขนาดสองช่องทางการจราจร (สายญาณวิโรจน์ - แหลมสิงห์) เชื่อมติดต่อจากตำบลคลองน้ำเค็ม ตำบลหนองบัว จนถึงเขตตำบลบางสระเก้า ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร กับมีถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในตำบลเชื่อมติดต่อกันทุกหมู่บ้าน และมีถนนลาดยางเชื่อมไปยังที่ว่าการอำเภอแหลมสิงห์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ทางน้ำ ใช้เรือขนาดเล็กในการขนส่งพืชผลทางการเกษตรและการประมงปัจจุบันไม่นิยมใช้สัญจรไปมา การไฟฟ้า - จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 5 หมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 785 ครัวเรือน ประปา - จำนวนประชากรที่ใช้ประปา 707 ครัวเรือน โทรศัพท์ - มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ (บริษัท TOT จำกัดมหาชน) 3 ตู้ - เสาโทรศัพท์ GSM 1 แห่ง - เสาโทรศัพท์ DTAC 1 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ - คลอง 3 สาย แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ประตูระบายน้ำ 1 แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - ป่าไม้ชายเลน เช่น ป่าโกงกาง,ป่าจาก ฯลฯ - สัตว์น้ำที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 742 คน - ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 270 คน - กองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 250 คน -อสม 1 รุ่น 45 คน -อปพร. 1 รุ่น 45 คน

check_circle ข้อมูลหมู่บ้าน
ข้อมูลหมู่บ้าน
1 นายสายเมฆ ใจชื่น กำนันตำบลบางสระเก้า 2 นายชาตรี พลอยศิริ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 3 นางมาลัย สุขสิงห์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 4 นายสมเกียรติ ตองอ่อน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 5 นายนิรุติย์ ธรรมลิขิต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 แยกตามหมู่บ้าน ( ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 ) หมู่ที่ ชาย หญิง รวม ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเนิน 334 390 724 271 หมู่ที่ 2 บ้านกลาง 157 171 328 126 หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง 134 164 298 116 หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน 177 197 374 174 หมู่ที่ 5 บ้านแถวนา 154 199 353 109 รวม 956 1,121 2,077 796

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากข้อมูลจปฐ.ปี 2565
หมู่1 108,335.95 บาท หมู่2 82,152.16 บาท หมู่3 90,266.70 บาท หมู่4 68,468.09 บาท หมู่5 81,216.72 บาท รวมเฉลี่ย 90,376.96 บาท

image ผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเสื่อกก[11 กรกฎาคม 2566]
งอบ"แหละ"[11 กรกฎาคม 2566]
ยำปลาเงี่ยน[7 กรกฎาคม 2566]
เสื่อกกบางสระเก้า[7 กรกฎาคม 2566]
 
image สถานที่สำคัญ
เที่ยวotopนวัตวิถี บางสระเก้า หมู่5[7 กรกฎาคม 2566]
เที่ยวotopนวัตวิถี บางสระเก้า หมู่1[7 กรกฎาคม 2566]
โคกหนองนา โมเดล[29 มิถุนายน 2566]
ศูนย์พัมนาเด็กเล็ก อบต. บางสระเก้า[29 มิถุนายน 2566]