×
แชทกับหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า
ยินดีให้บริการค่ะ....
check_circle ประวัติความเป็นมา
ประวัติตำบลบางสระเก้า
พื้นที่ดั้งเดิม ในอดีตที่ผ่านมา ก่อนที่ชาวบ้านจะเข้ามาลงรากสร้างฐาน พื้นที่นี้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นที่เนินและที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่แถบชายทะเล มีลำคลองไหลผ่านเป็นการแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างป่าไม้เบญจพรรณ ได้แก่ ต้นยางนา ต้นยางใต้ ตะเคียน ต้นไผ่ ต้นประดู่ ซึ่งเป็นพืชน้ำจืด และป่าชายเลน ได้แก่ ต้นโกงกาง ต้นจาก ต้นกวาด ต้นแสม ต้นลำพู ต้นลำแพน ต้นกะสัก ต้นโปรง ต้นกะบูน ซึ่งเป็นพืชน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าเบญจพรรณและป่าชายเลน จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหาอาหารของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า เสือลายพาดกลอน เสือปลา เสือแปลง นากทะเล จรเข้น้ำเค็ม ลิงแสม (ปัจจุบันสัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่แล้ว) นอกจากนี้ยังมีสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายชนิด ซึ่งมีหลักฐานอ้างอิงจากการบอกเล่าและพบเห็นของชาวบ้านในรุ่นปู่,ย่า ที่เล่าสืบต่อกันมา และหลักฐานอ้างอิงที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของช้างป่า ก็คือ แอ่งดินที่ช้างป่ามานอนรวมกันและเกลือกกลิ้ง เมื่อมีฝนตกก็จะมีน้ำขังในแอ่งดิน ช้างได้อาศัยน้ำที่ขังอยู่สำหรับกินและนอนเล่นจนมีขนาดกว้างและลึกมากขึ้น มีปรากฏทั่วไปในพื้นที่จำนวน 9 แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า “สระ” ต่อมาชาวบ้านได้ใช้จำนวนสระมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางสระเก้า” และมีชื่อเรียกสระเหล่านี้ตามสถานที่และตามชื่อของชาวบ้านที่มีที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับสระในขณะนั้น ดังนี้ สระที่ 1 เรียกว่า “สระตาเผื่อน” อยู่ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านเนิน(ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 2 เรียกว่า “สระหน้าโบสถ์” อยู่ในพื้นที่วัดบางสระเก้า หมู่ 2 บ้านกลาง(ปัจจุบันมีการอนุรักษ์ไว้ส่วนหนึ่งเป็นบ่อน้ำใช้ของพระภิกษุสามเณรในวัด) สระที่ 3 เรียกว่า “สระตาอ๋อ” อยู่ในพื้นที่หมู่ 2 บ้านกลาง(พื้นที่บริเวณนี้ในเวลาต่อมาได้ถวายเป็นของวัดและถูกถมกลบไปแล้ว) สระที่ 4 เรียกว่า “สระยายจ๋วน” อยู่ในพื้นที่หมู่ 3 บ้านเนินกลาง(ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 5 เรียกว่า “สระยายสุก” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันบูรณะเป็นสระน้ำเพื่อการเกษตร) สระที่ 6 เรียกว่า “สระขรัวมี” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 7 เรียกว่า “สระตาบา” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 8 เรียกว่า “สระตาหอม” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) สระที่ 9 เรียกว่า “สระหนองตาพุ่ม” อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 บ้านแถวนา (ปัจจุบันถมกลบไปแล้ว) นอกจากสระน้ำแล้วยังมีชื่อของสถานที่อันเกี่ยวข้องกับช้าง ได้แก่ 1. คลองช้าง เป็นคลองเล็กๆ แยกจากคลองสายหลักที่ไหลผ่านและเชื่อมติดต่อกัน เป็นลำคลองที่มี ลักษณะปลายทางเป็นคลองตัน สันนิษฐานว่า เป็นเส้นทางเดินข้ามคลองสายหลัก ที่ช้างใช้เดินข้ามเพื่อหาอาหารกินเป็นประจำ จนกลายเป็นล่องคลองในเวลาต่อมา 2. ท่าช้างอยู่ติดริมคลองหนองบัวเป็นคลองแบ่งเขตพื้นที่ระหว่างบ้านเสม็ดงามและบางสระเก้า สันนิษฐานว่าเป็นทางขึ้นลงของช้างที่ใช้ข้ามไปมาระหว่างบ้านเสม็ดงามและบางสระเก้า 2.การอพยพสร้างถิ่นฐาน มีการสันนิษฐาน ผู้ที่มาสร้างถิ่นฐานเป็นชนกลุ่มแรกน่าจะเป็นชาวชองที่เป็นคนพื้นที่เดิมของจังหวัดจันทบุรี ต่อมามีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชาวญวน และคนไทยจากภาคใต้ โดยอาศัยการเดินทางด้วยเรือ พื้นที่ตำบลบางสระเก้ามีทำเลที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่พักแรมและหลบมรสุม การติดต่อค้าขายก่อให้เกิดความสัมพันธ์ยาวนานเป็นชุมชนใหญ่โตขึ้น จากที่พักชั่วคราวมาเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำมาหากินหลัก จากกลุ่มชนเชื้อชาติเดียวกันขยายตัวเป็นกลุ้มชนหลายเชื้อชาติมาอยู่ร่วมกันมีทั้งชาวชอง ชาวไทยภาคใต้ ชาวจีน ชาวญวน มีร่องรอยหลักฐานที่สันนิษฐานได้ จาก1)สำเนียงภาษาพูดพื้นบ้าน จะมีลักษณะสำเนียงชองผสมกับภาษาพื้นบ้านภาคใต้ ภาษาพูดคำบางคำเป็นภาษาถิ่นภาคใต้ เช่น ขนำ (ขะ-หนำ) หมายถึง ที่พักอาศัยชั่วคราว ปลัก หมายถึง หลุมดินที่มีน้ำขังขนาดเล็กถึงย่อม ถ้าขนาดใหญ่จะเรียก "สระ" ตัวอย่างของปลัก เช่น ปลักควาย เกิดจากควายนอนเล่นจนกลายเป็นแอ่งดินที่มีน้ำขัง คำว่า เพ๊าะ หมายถึง คำเรียกผู้ให้กำเนิดที่ใช้แทนคำว่า พ่อ แมะ หมายถึง แม่ผู้ให้กำเนิด จาก2)ประเพณีพื้นบ้านโบราณ เช่น --พิธีบอกผี หมายถึง ปู่ย่าตายาย ของฝ่ายเจ้าสาวที่ได้ตายไปแล้ว จะมีการบอกกล่าวว่า ลูกหลานได้ทำการออกเหย้า ออกเรือนแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธี จะเป็นลูกปัดสีต่างๆ ซึ่งชาวซองนิยมใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ --พิธีบอกปู่อ้าย เชื่อกันว่าปู่อ้ายเป็นผู้ดูแลรักษาท้องทุ่ง มีอาหารที่ท่านโปรดปราน คือข้าวเหนียวแดง เป็นขนมหวานพื้นบ้าน หากใครต้มข้าวเหนียวแดงกิน จะต้องจัดให้ปู่อ้ายกิน หากไม่ทำอย่างนั้นจะเกิดอาการปวดท้อง หากข้าวของสูญหายหรืออยากได้จำนวนผลผลิตข้าวตามที่คาดประมาณไว้ จะมีการบนบานศาลกล่าวกับปู่อ้าย --พิธีเซ่นศาล ก่อนที่จะทำการไถนา ชาวบ้านจะทำศาลจำลอง และทำขนมต้มขาว ต้มแดง บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทุ่ง --พิธีส่งส้มข้าว เมื่อข้าวที่ปลูกเริ่มตั้งท้อง ชาวบ้านจะทำตะเหล่าเพชร 7 ตา ปักไว้ยังที่นาของตนพร้อมกับขนมกระยาสารทและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพราะเชื่อว่าแม่โพสพที่เป็นตัวแทนของต้นข้าวเกิดอาการแพ้ท้อง --พิธีทำขวัญล้อมข้าว เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะนำข้างเปลือก มากองบนลานจะจัดเตรียมสำรับคาวหวานพร้อมบายศรี เป็นการขอแม่โพสพก่อนจะทำการนวดข้าว ด้วยการใช้ควายเดินย่ำเพื่อให้เมล็ดข้าวร่วงหล่นอยู่บนลานนวด จาก3)ต้นตระกูล ของชาวบ้านในปัจจุบัน จะมีหลายตระกูลมีเชื้อสายสืบทอดจากชาวจีน ชาวญวน วิถีชีวิต วิถีชีวิตของชุมชนบางสระเก้าในสมัยก่อน

พื้นที่ดั้งเดิม





การอพยพสร้างถิ่นฐาน
มีการสันนิษฐานว่า ผู้ที่เข้ามาสร้างถิ่นฐานเป็นชนกลุ่มแรกน่าจะเป็นชาวชองที่เป็นคนพื้นที่เดิมของจังหวัดจันทบุรี ต่อมามีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชาวญวน และคนไทยจากภาคใต้ โดยอาศัยการเดินทางด้วยเรือ พื้นที่ตำบลบางสระเก้ามีทำเลเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่พักแรมและหลบมรสุม การติดต่อค้าขายก่อให้เกิดความสัมพันธ์ยาวนานเป็นชุมชนใหญ่โตขึ้นจากที่พักชั่วคราวมาเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินหลัก จากกลุ่มชนเชื้อชาติเดียวขยายตัวเป็นกลุ่มชนหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกันมีทั้งชาวชอง ชาวไทยภาคใต้ ชาวจีน ชาวญวน มีร่องรอยหลักฐานที่สันนิษฐานได้ 1. จากสำเนียงภาษาพูดพื้นบ้าน จะมีลักษณะเป็นสำเนียงชองผสมกับภาษาพื้นบ้านภาคใต้ ภาษาพูดคำบางคำเป็นภาษาถิ่นภาคใต้ เช่น ขนำ(ขะ-หนำ) หมายถึง ที่พักอาศัยชั่วคราว ปลัก หมายถึง หลุมดินที่มีน้ำขังขนาดเล็กถึงขนาดย่อม ถ้าขนาดใหญ่จะเรียกว่า “สระ” ตัวอย่างของปลัก เช่น ปลักควาย เกิดจากควายนอนเล่นจนกลายเป็นแอ่งดินที่มีน้ำขัง เป็นต้น เอ๊าะ หมายถึง คำเรียกผู้ให้กำเนิดที่ใช้แทนคำว่าพ่อ แมะ หมายถึง คำเรียกผู้ให้กำเนิดเช่นกันใช้แทนคำว่าแม่ 2. จากประเพณีพื้นบ้าน เช่น การแต่งงาน จะมีพิธีบอกผี หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของฝ่ายเจ้าสาวที่ได้ตายไปแล้ว จะมีการบอกกล่าวว่า ลูกหลานได้มีการออกเหย้า ออกเรือน อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบพิธี จะเป็นลูกปัดสีต่างๆ ซึ่งชาวชองนิยมใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ 3. จากต้นตระกูลของชาวบ้านในปัจจุบัน จะมีเชื้อสายสืบทอดมาจากชาวจีนบ้าง ชาวญวนบ้าง

การอพยพสร้างถิ่นฐาน



ประวัติการทอเสื่อบางสระเก้า
เสื่อกกบางสระเก้า “เป็นเสื่อที่มีความเหนียวและมีความคงทนมาก” ตำนานเสื่อบางสระเก้า ยุคแรกชาวญวนที่อาศัยอยู่แถบโบสถ์คาทอลิกมาพบต้นกกที่ขึ้นในบริเวณหมู่บ้านบางสระเก้า จึงขอตัดเพื่อเอาไปทอเสื่อด้วยมือโดยใช้กี่กระตุก เมื่อทอสำเร็จเป็นผืนเสื่อก็นำกลับมาฝากให้เจ้าของแปลงต้นกกต่อมาก็เปลี่ยนมาเป็นการทอเพื่อขาย ขณะเดียวกันชาวบ้านบางสระเก้าก็เริ่มเรียนรู้วิธีทอเสื่อจากญวณ แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ช่วง 40 ปีก่อน นับว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุด ชาวบางสระเก้าจะนำเสื่อที่ทอได้ นั่งเรือจากคลองบางสระเก้าเข้าแม่น้ำจันทบุรี แล้วไปขึ้นที่ท่าเรือตลาดท่าหลวงเพื่อขาย เล่ากันว่ายังไม่ทันขนเสื่อขึ้นจากเรือ ก็มีพ่อค้าแม่ค้ามาแย่งกันซื้อเสื่อจนหมด ช่วงเวลาการทำเสื่อจันทบูร ช่วงเดือน ก.พ. - พ.ค. เป็นช่วงที่มีการทอเสื่อมากที่สุด สามารถชมขั้นตอนการทำเสื่อจันทบูร ตั้งแต่การตาก การย้อมสี และการตัดเส้นกกได้ ช่วงเดือน มิ.ย. ส.ค. ชาวบ้านจะออกทำนาหรือเก็บผลไม้ จึงมีเวลาทอเสื่อน้อยลง แต่ก็เยี่ยมชมได้เช่นกัน

check_circle วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ (Vission)
“ เศรษฐกิจดี มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต ชุมชนร่วมคิดพัฒนา”

คำขวัญตำบล
"เสื่อกกบางสระเก้า หลวงพ่อเต่าพระดี ตำนานมีเก้าสระ ถิ่นวัฒนธรรม สง่าล้ำวัดพัฒนา การกีฬาขึ้นชื่อ เลื่องลือสามัคคี"

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร

สัญลักษณ์หน่วยงาน


check_circle ข้อมูลสภาพทั่วไป
ภูมิประเทศ
ที่ตั้งและอาณาเขตท้องที่ ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีเขตการปกครอง รวม 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านเนิน หมู่ที่ 2 บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน หมู่ที่ 5 บ้านแถวนา มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ทิศใต้ ติดต่อตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร จำนวนพื้นที่ มีพื้นที่ปกครอง 22.45 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศ เป็นที่ลุ่มชุมช้ำและป่าชายเลนปกคลุมทั่วบริเวณชายคลอง มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย เช่น คลองพลิ้ว คลองบางสระเก้า คลองหนองบัว เชื่อมติดต่อกันตลอด ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นแบบ มรสุมเขตร้อน (Am) คือ มีฝนตกชุก อากาศร้อนชื้น เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลอ่าวไทย ประชากร ประชากรรวมทั้งสิ้น 2,063 คน แยกเป็น ชาย 949 คน หญิง 1,114 คน ครัวเรือน 800 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 94 คน ตารางกิโลเมตร แยกตามหมู่บ้าน ( ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ) หมู่ที่ ชาย หญิง รวม ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเนิน 333 392 725 275 หมู่ที่ 2 บ้านกลาง 155 168 323 126 หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง 130 165 295 116 หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน 173 194 367 174 หมุ่ที 5 บ้านแถวนา 158 195 353 109 รวม 946 1,113 2,063 800

สภาพทางสังคม
การศึกษา - โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน อนุบาล-ป.6 1 แห่ง - ศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า 1 แห่ง - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 แห่ง -ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.บางสระเก้า 1 แห่ง -พิพิทธภัณฑ์พื้นบ้านกลางแจ้ง 1 แห่ง -ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน 5หมู่บ้าน สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 1 แห่ง - สำนักสงฆ์/ที่พักสงฆ์ 2 แห่ง สาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสระเก้า 1 แห่ง - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง - คลีนิคเอกชน 1 แห่ง

สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร การทอเสื่อ ถักปอ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด การทำนาข้าว มะพร้าว ปลูกกก ปลูกปอ และถั่วลิสง หมุนเวียนกันตลอดปี อาชีพรองลงมา คือ การเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอยนางรม เลี้ยงปลา เลี้ยงปู การทำประมงด้วยเรือขนาดเล็ก และออกไปสวนผลไม้นอกตำบลเช่นทุเรียน สวนเงาะ สวนมังคุด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพขึ้นไป หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ 20 แห่ง - สถานีบริการน้ำมันแบบหยดเหรียญ/หลอด 3 แห่ง - ร้านรับซื้อของเก่า 1 แห่ง - อู่ซ่อมรถ 3 แห่ง - บ้านเช่า 2 แห่ง - ร้านเสริมสวย 4 แห่ง - ร้านล้างอัดฉีดรถยนต์ 1 แห่ง - คลินิกเอกชน 1 แห่ง - ตลาด 1 แห่ง - ธนาคารสถาบันการเงินชุมชน 1 แห่ง - กองทุนหมู่บ้าน 5 แห่ง - โรงผลิตโซดาคราฟ 1 แห่ง - โฮมสเตย์ 2 แห่ง -ธนาคารขยะรีไซเคิล 1 แห่ง

ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม ได้ทั้งทางน้ำและทางบก ทางบก มีถนนลาดยางสายหลัก บำรุงดูแลรักษาโดยอบจ.จันทบุรี ขนาด2ช่องทางการจราจรพร้อมไหล่ทาง (สายญาณวิโรจน์ - อ.แหลมสิงห์) เชื่อม ติดต่อจาก ตำบลคลองน้ำเค็ม ตำบลหนองบัว จนถึงเขตตำบลบางสระเก้า ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และมีถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในตำบลสายรอง เชื่อมติดต่อกันทุกหมู่บ้าน จากที่ทำการอบต.ไปยังที่ว่าการอำเภอแหลมสิงห์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากที่ทำการอบต.ไปศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ทางน้ำ โดยเรือประมงขนาดเล็ก เรือไฟเบอร์ และเรือนำเที่ยวแบบมีหลังคาขนาดใหญ่นั้งได้ประมาณ 6-10 คน การไฟฟ้า - จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 5 หมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 800 ครัวเรือน ประปาใช้น้ำประปาจากสำนักงานการประปาอำเภอขลุง - จำนวนประชากรที่ใช้ประปา 750 ครัวเรือน โทรศัพท์ - มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ (บริษัท TOT จำกัดมหาชน) 3 ตู้ - เสาโทรศัพท์ GSM 1 แห่ง - เสาโทรศัพท์ DTAC 1 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ - คลอง 3 สาย แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ประตูระบายน้ำ 1 แห่ง สถานีพักน้ำประปาเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำประปา 1 แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - สวนผลไม้ เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง - ป่าไม้ชายเลน เช่น ป่าโกงกาง,ป่าจาก ป่ากก ป่าปอกระเจ้า ฯลฯ - สัตว์น้ำที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 742 คน - ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 270 คน - กองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 250 คน -อสม 1 รุ่น 45 คน -อปพร. 1 รุ่น 45 คน

เสื่อกกบางสระเก้า
ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อ กระบวนการตั้งแต่การปลูกกก จนกระทั่งแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านในหมู่บ้านบางสระเก้านั้น ต้องมีองค์ประกอบของภูมิปัญญาพื้นบ้านปรากฏอยู่ทุกขั้นตอน โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการปลูกกก จนถึงการทอเสื่อ โดยเริ่มจากการปลูกกก รู้จักและเรียนรู้วิธีการปลุกเพื่อให้ได้กกที่มีคุณภาพ การนำเอาต้นกกมาแปรรูปเพื่อใช้ในการทอเสื่อ รู้จักการเลือกวัตถุดิบและคัดวัตถุดิบ การจักกก เพื่อนำมาทอเสื่อผืนที่ประณีต และสวยงามมากกว่าที่อื่น เสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากภูมิปัญญา และศิลปะพื้นบ้านที่สอดคล้องและสืบทอดมาจากวิถีชีวิตไทยมานาน โดยสร้างสรรค์ออกมาเป็นงานหัตกรรมประเภทเครื่องจักสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ในการใช้สอยในชีวิตประจำวันให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสื่อกกในหมู่บ้านบางสระเก้าเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีลวดลายหลากหลาย เช่น ลายเดี่ยว ลายคู่ ลายหมากรุก และมีการแปรรูปเสื่อกกให้เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองประโยชน์การใช้งานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันผู้สืบทอดส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน วัยหนุ่มสาวและวัยเด็ก เป็นการถ่ายทอดที่ไม่มีลายลักษณ์อักษรมาโดยตลอด ผู้ถ่ายทอดใช้วิธีการสอนแบบการบอกเล่าด้วยวาจา รวมทั้งการสาธิตให้ดูควบคู่กันไป ซึ่งผู้เรียนจะอาศัยการสังเกตและลงมือทำตาม

เสื่อกกจันทบูร
เสื่อกกจันทบูร คือภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ถือว่ามีคุณค่าและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อใช้ในการ ดำรงชีวิตให้เกิดความเหมาะสมตามลักษณะทางกายภาพในท้องถิ่นนั ้น จังหวัดจันทบุรี มีภูมิศาสตร์ พื ้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกกก เพราะในพื ้นที่บริเวณนั ้นเป็นพื ้นที่ติดทะเล ซึ่งมีน้ำจืดไหลมารวมกัน เรียกว่า (น้ำกร่อย) ด้วยเหตุนี ้ จึงทำให้เส้นกกของจังหวัดจันทบุรี มีลักษณะต่างจากที่อื่น ๆ คือ จะมีเส้นที่ใหญ่ เหนียว เวลาผ่าตรอกออกมาจะมีเส้นเล็ก แข็งแรง ทนต่อการใช้งาน เหมาะกับการทอเป็นลวดลายที่ใช้ความละเอียดสูง ภูมิปัญญาดั้งเดิมของการทอเสื่อกกได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากที่ลงมือปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นของตนให้คุ้มค่า นำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตก็กลับกลายมาเป็นการทอเพื่อ นำมาใช้ในการประกอบเป็นอาชีพเสริมหรือหลักเพื่อหารายได้มาสู่ครอบครัว เพราะเสื่อกกจันทบูรน้ัน มีจุดเด่นและมีความพิเศษต่างจากที่อื่นแล้วยังมีเสน่ห์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร อาทิเช่น สีเสื่อกกแบบดั ้งเดิม คือสีแดง ดำ ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี ้จึงทำให้อาชีพการทอเสื่อกกมีการพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่งมาจนถึงปัจจุบัน

check_circle ข้อมูลหมู่บ้าน
ข้อมูลหมู่บ้าน
1 นายกฤษฎิ์ วัชราสิน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 2 นายชาตรี พลอยศิริ กำนันตำบลบางสระเก้า 3 นางมาลัย สุขสิงห์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 4 นายสมเกียรติ ตองอ่อน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 5 นายนิรุติย์ ธรรมลิขิต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 แยกตามหมู่บ้าน ( ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 ) หมู่ที่ ชาย หญิง รวม ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเนิน 334 390 724 271 หมู่ที่ 2 บ้านกลาง 157 171 328 126 หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง 134 164 298 116 หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน 177 197 374 174 หมู่ที่ 5 บ้านแถวนา 154 199 353 109 รวม 956 1,121 2,077 796

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากข้อมูลจปฐ.ปี 2565
หมู่1 108,335.95 บาท หมู่2 82,152.16 บาท หมู่3 90,266.70 บาท หมู่4 68,468.09 บาท หมู่5 81,216.72 บาท รวมเฉลี่ย 90,376.96 บาท

image ผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน
ขนมมัดใต้[1 พฤษภาคม 2568]
ผลิตภัณฑ์จากผึ้งชันโรง[1 พฤษภาคม 2568]
กระเป๋าเสื่อกกใส่แก้วกาแฟ[1 พฤษภาคม 2568]
เสื่อกกเป็นผืน[1 พฤษภาคม 2568]
 
image สถานที่สำคัญ
ที่พักตำรวจชุมชนตำบลบางสระเก้า[1 พฤษภาคม 2568]
วิหารบูรพาจารย์วัดบางสระเก้า[1 พฤษภาคม 2568]
ที่ทำการอบต.บางสระเก้า[1 พฤษภาคม 2568]
ทุ่งนาอารมณ์ดีบางสระเก้า หมู่1[1 พฤษภาคม 2568]