×
แชทกับหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า
ยินดีให้บริการค่ะ....
check_circle ข้อมูลสภาพทั่วไป
ภูมิประเทศ
ที่ตั้งและอาณาเขตท้องที่ ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีเขตการปกครอง รวม 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านเนิน หมู่ที่ 2 บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน หมู่ที่ 5 บ้านแถวนา มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ทิศใต้ ติดต่อตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร จำนวนพื้นที่ มีพื้นที่ปกครอง 22.45 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศ เป็นที่ลุ่มชุมช้ำและป่าชายเลนปกคลุมทั่วบริเวณชายคลอง มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย เช่น คลองพลิ้ว คลองบางสระเก้า คลองหนองบัว เชื่อมติดต่อกันตลอด ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นแบบ มรสุมเขตร้อน (Am) คือ มีฝนตกชุก อากาศร้อนชื้น เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลอ่าวไทย ประชากร ประชากรรวมทั้งสิ้น 2,063 คน แยกเป็น ชาย 949 คน หญิง 1,114 คน ครัวเรือน 800 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 94 คน ตารางกิโลเมตร แยกตามหมู่บ้าน ( ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ) หมู่ที่ ชาย หญิง รวม ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเนิน 333 392 725 275 หมู่ที่ 2 บ้านกลาง 155 168 323 126 หมู่ที่ 3 บ้านเนินกลาง 130 165 295 116 หมู่ที่ 4 บ้านกองหิน 173 194 367 174 หมุ่ที 5 บ้านแถวนา 158 195 353 109 รวม 946 1,113 2,063 800
สภาพทางสังคม
การศึกษา - โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน อนุบาล-ป.6 1 แห่ง - ศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า 1 แห่ง - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 แห่ง -ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.บางสระเก้า 1 แห่ง -พิพิทธภัณฑ์พื้นบ้านกลางแจ้ง 1 แห่ง -ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน 5หมู่บ้าน สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 1 แห่ง - สำนักสงฆ์/ที่พักสงฆ์ 2 แห่ง สาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสระเก้า 1 แห่ง - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง - คลีนิคเอกชน 1 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร การทอเสื่อ ถักปอ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด การทำนาข้าว มะพร้าว ปลูกกก ปลูกปอ และถั่วลิสง หมุนเวียนกันตลอดปี อาชีพรองลงมา คือ การเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอยนางรม เลี้ยงปลา เลี้ยงปู การทำประมงด้วยเรือขนาดเล็ก และออกไปสวนผลไม้นอกตำบลเช่นทุเรียน สวนเงาะ สวนมังคุด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพขึ้นไป หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ 20 แห่ง - สถานีบริการน้ำมันแบบหยดเหรียญ/หลอด 3 แห่ง - ร้านรับซื้อของเก่า 1 แห่ง - อู่ซ่อมรถ 3 แห่ง - บ้านเช่า 2 แห่ง - ร้านเสริมสวย 4 แห่ง - ร้านล้างอัดฉีดรถยนต์ 1 แห่ง - คลินิกเอกชน 1 แห่ง - ตลาด 1 แห่ง - ธนาคารสถาบันการเงินชุมชน 1 แห่ง - กองทุนหมู่บ้าน 5 แห่ง - โรงผลิตโซดาคราฟ 1 แห่ง - โฮมสเตย์ 2 แห่ง -ธนาคารขยะรีไซเคิล 1 แห่ง
ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม ได้ทั้งทางน้ำและทางบก ทางบก มีถนนลาดยางสายหลัก บำรุงดูแลรักษาโดยอบจ.จันทบุรี ขนาด2ช่องทางการจราจรพร้อมไหล่ทาง (สายญาณวิโรจน์ - อ.แหลมสิงห์) เชื่อม ติดต่อจาก ตำบลคลองน้ำเค็ม ตำบลหนองบัว จนถึงเขตตำบลบางสระเก้า ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และมีถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในตำบลสายรอง เชื่อมติดต่อกันทุกหมู่บ้าน จากที่ทำการอบต.ไปยังที่ว่าการอำเภอแหลมสิงห์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากที่ทำการอบต.ไปศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ทางน้ำ โดยเรือประมงขนาดเล็ก เรือไฟเบอร์ และเรือนำเที่ยวแบบมีหลังคาขนาดใหญ่นั้งได้ประมาณ 6-10 คน การไฟฟ้า - จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง 5 หมู่บ้าน - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า 800 ครัวเรือน ประปาใช้น้ำประปาจากสำนักงานการประปาอำเภอขลุง - จำนวนประชากรที่ใช้ประปา 750 ครัวเรือน โทรศัพท์ - มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ (บริษัท TOT จำกัดมหาชน) 3 ตู้ - เสาโทรศัพท์ GSM 1 แห่ง - เสาโทรศัพท์ DTAC 1 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ - คลอง 3 สาย แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ประตูระบายน้ำ 1 แห่ง สถานีพักน้ำประปาเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำประปา 1 แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ - สวนผลไม้ เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง - ป่าไม้ชายเลน เช่น ป่าโกงกาง,ป่าจาก ป่ากก ป่าปอกระเจ้า ฯลฯ - สัตว์น้ำที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 742 คน - ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 270 คน - กองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 250 คน -อสม 1 รุ่น 45 คน -อปพร. 1 รุ่น 45 คน
เสื่อกกบางสระเก้า
ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อ กระบวนการตั้งแต่การปลูกกก จนกระทั่งแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านในหมู่บ้านบางสระเก้านั้น ต้องมีองค์ประกอบของภูมิปัญญาพื้นบ้านปรากฏอยู่ทุกขั้นตอน โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการปลูกกก จนถึงการทอเสื่อ โดยเริ่มจากการปลูกกก รู้จักและเรียนรู้วิธีการปลุกเพื่อให้ได้กกที่มีคุณภาพ การนำเอาต้นกกมาแปรรูปเพื่อใช้ในการทอเสื่อ รู้จักการเลือกวัตถุดิบและคัดวัตถุดิบ การจักกก เพื่อนำมาทอเสื่อผืนที่ประณีต และสวยงามมากกว่าที่อื่น เสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากภูมิปัญญา และศิลปะพื้นบ้านที่สอดคล้องและสืบทอดมาจากวิถีชีวิตไทยมานาน โดยสร้างสรรค์ออกมาเป็นงานหัตกรรมประเภทเครื่องจักสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ในการใช้สอยในชีวิตประจำวันให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสื่อกกในหมู่บ้านบางสระเก้าเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีลวดลายหลากหลาย เช่น ลายเดี่ยว ลายคู่ ลายหมากรุก และมีการแปรรูปเสื่อกกให้เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองประโยชน์การใช้งานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันผู้สืบทอดส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน วัยหนุ่มสาวและวัยเด็ก เป็นการถ่ายทอดที่ไม่มีลายลักษณ์อักษรมาโดยตลอด ผู้ถ่ายทอดใช้วิธีการสอนแบบการบอกเล่าด้วยวาจา รวมทั้งการสาธิตให้ดูควบคู่กันไป ซึ่งผู้เรียนจะอาศัยการสังเกตและลงมือทำตาม
เสื่อกกจันทบูร
เสื่อกกจันทบูร คือภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ถือว่ามีคุณค่าและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อใช้ในการ ดำรงชีวิตให้เกิดความเหมาะสมตามลักษณะทางกายภาพในท้องถิ่นนั ้น จังหวัดจันทบุรี มีภูมิศาสตร์ พื ้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกกก เพราะในพื ้นที่บริเวณนั ้นเป็นพื ้นที่ติดทะเล ซึ่งมีน้ำจืดไหลมารวมกัน เรียกว่า (น้ำกร่อย) ด้วยเหตุนี ้ จึงทำให้เส้นกกของจังหวัดจันทบุรี มีลักษณะต่างจากที่อื่น ๆ คือ จะมีเส้นที่ใหญ่ เหนียว เวลาผ่าตรอกออกมาจะมีเส้นเล็ก แข็งแรง ทนต่อการใช้งาน เหมาะกับการทอเป็นลวดลายที่ใช้ความละเอียดสูง ภูมิปัญญาดั้งเดิมของการทอเสื่อกกได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากที่ลงมือปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นของตนให้คุ้มค่า นำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตก็กลับกลายมาเป็นการทอเพื่อ นำมาใช้ในการประกอบเป็นอาชีพเสริมหรือหลักเพื่อหารายได้มาสู่ครอบครัว เพราะเสื่อกกจันทบูรน้ัน มีจุดเด่นและมีความพิเศษต่างจากที่อื่นแล้วยังมีเสน่ห์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร อาทิเช่น สีเสื่อกกแบบดั ้งเดิม คือสีแดง ดำ ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี ้จึงทำให้อาชีพการทอเสื่อกกมีการพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่งมาจนถึงปัจจุบัน